Tools | Bookmark & Share | Make MrWhy My Homepage
MrWhy.com
Go
MrWhy.com » Videos » 2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก
2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก
2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก
Report
2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก
ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (99942 Apophis) ซึ่งขณะนั้นถูกเรียกว่า 2004 เอ็มเอ็น 4 (2004 MN4) ถูกพบครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 แต่ไม่สามารถติดตามสังเกตการณ์ต่อได้ กลับมาพบอีกครั้งในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ข้อมูลวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ชี้ว่าวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572 (ค.ศ. 2029) ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะผ่านใกล้โลกและมีโอกาสชนโลกด้วยอัตราส่วน 1 ใน 38 ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับบรรดาดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้โลกดวง อื่น ๆ ที่ได้ค้นพบไปก่อนหน้านั้น แม้อัตราส่วนดังกล่าวคือโอกาสประมาณ 2.6 เปอร์เซนต์ แต่คำว่า "มีโอกาส" ไม่ว่าจะน้อยหรือมากมีความหมายอย่างเดียวกัน คือ นักดาราศาสตร์ไม่สามารถฟันธงได้ว่าปี 2572 โลกจะเผชิญกับหายนะจากดาวเคราะห์น้อยดวงนี้หรือไม่ อะโพฟิสจึงเข้าไปอยู่ในรายชื่อดาวเคราะห์น้อยที่ต้องจับตามองโดยอัตโนมัติ ไม่กี่วันถัดมาหลังจากได้ข้อมูลวงโคจรเบื้องต้นของอะโพฟิส นักดาราศาสตร์ได้ไปค้นหาภาพถ่ายในคลังภาพของท้องฟ้าบริเวณที่ดาวเคราะห์น้อย ดวงนี้น่าจะเคลื่อนผ่าน เจฟฟ์ ลาร์เซน และ แอนน์ เดสเคอร์ พบอะโพฟิสในภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.9 เมตรของหอดูดาวคิตต์พีก แอริโซนา มันช่วยให้คำนวณวงโคจรได้แม่นยำขึ้น สามารถบอกได้ว่าดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสจะไม่ชนโลกและดวงจันทร์อย่างแน่นอน แต่เฉียดผ่านโลกด้วยระยะห่างประมาณ 64,400 กิโลเมตร มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การเข้าใกล้โลกอย่างมากของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสในช่วงสงกรานต์ พ.ศ. 2572 ทำให้เรามีโอกาสสังเกตเห็นมันในเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบตะวันตกของทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และแอฟริกา ไม่ต้องใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่แถบชานเมืองและที่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ อะโพฟิสจะปรากฏเหมือนดาวทั่วไปบนท้องฟ้าแต่เคลื่อนที่ได้และเร็ว นักดาราศาสตร์เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งเดียวในรอบสหัสวรรษ ที่ผ่านมามีดาวเคราะห์น้อยผ่านใกล้โลกหลายดวง แต่ไม่เคยมีดวงใดที่สว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่นนี้มาก่อน นักดาราศาสตร์คะเนว่าเหตุการณ์ทำนองนี้มีโอกาสเกิดขึ้นทุก ๆ 1,300 ปีหรือนานกว่านั้น วงโคจร ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยวงโคจรต่างจากดาวเคราะห์น้อย ส่วนใหญ่ที่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก (ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี) วงโคจรของมันอยู่...
Channel: Clipmass
Category: News
Video Length: 66
Date Found: February 04, 2011
Date Produced:
View Count: 0
 
MrWhy.com Special Offers
1
2
3
4
5
 
About Us: About MrWhy.com | Advertise on MrWhy.com | Contact MrWhy.com | Privacy Policy | MrWhy.com Partners
Answers: Questions and Answers | Browse by Category
Comparison Shopping: Comparison Shopping | Browse by Category | Top Searches
Shop eBay: Shop eBay | Browse by Category
Shop Amazon: Shop Amazon | Browse by Category
Videos: Video Search | Browse by Category
Web Search: Web Search | Browse by Searches
Copyright © 2011 MrWhy.com. All rights reserved.